การวางแผนกำลังการผลิตสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม( Capacity Planning for Industry) วันที่ 24 มิถุนายน 2567 เวลา 09.00-16.00 น. วิทยากร: อาจารย์อนันต์ ดีโรจนวงศ์ที่ปรึกษาอุตสาหกรรมด้าน Lean Production & Logistic กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
ที่ปรึกษาเครือข่าย สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี ไทย-ญี่ปุ่น
ที่ปรึกษาอุตสาหกรรมและ Logistics & Supply Chain Management สมาพันธ์สมาคมอุตสาหกรรมสนับสนุน
อาจารย์พิเศษ คณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, สถาบันเทคโนโลยี ไทย-ญี่ปุ่น ม.ศรีปทุม, ม.ธุรกิจบัณฑิต
ที่ปรึกษาสถานประกอบการดีเด่นสาขาการจัดการโลจิสติกส์ โครงการ OPOAI กระทรวงอุตสาหกรรม ปี พ.ศ. 2557
หลักการและเหตุผลการวางแผนกำลังการผลิตผลิต (Capacity Planning) เป็นกระบวนการในการจัดหาทรัพยากรการผลิตที่จำเป็นต่อการทำให้บรรลุตามแผนการผลิต (Priority Plan) ที่ได้วางไว้สำหรับช่วงระยะเวลาหนึ่งในอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงวิธีการที่สามารถทำให้กำลังการผลิตมีอยู่พร้อม ซึ่งขึ้นอยู่กับเครื่องจักรและ/หรือกำลังคน โดยอาจพิจารณาถึงกำลังการผลิตในช่วงเวลาปกติ ล่วงเวลา จำนวนกะการทำงานรวมทั้งจากหน่วยผลิตอื่น ๆ ในโรงงาน และจากแหล่งภายนอก (Outsources) แผนการผลิตจะไม่สามารถนำไปดำเนินการได้ หากปราศจากกำลังการผลิตที่เพียงพอ การวางแผนกำลังการผลิตที่มีประสิทธิภาพนั้น สามารถพิจารณาได้จากต้นทุนการผลิตที่เกิดจากการใช้กำลังการผลิตของหน่วยผลิตในการผลิตสินค้า หากผลการวางแผนกำลังการผลิตของหน่วยผลิตในแต่ละช่วงเวลาเกิดสภาพเกินกำลังการผลิตหรือต่ำกว่ากำลังการผลิตในหลายช่วง ก็จะสะท้อนถึงความไม่มีประสิทธิภาพในการวางแผนกำลังการผลิต ดังนั้นในการวางแผนกำลังการผลิต ผู้วางแผนจึงต้องพยายามทำให้การใช้กำลังการผลิตของหน่วยผลิตมีความสมดุลตลอดช่วงระยะเวลาของการผลิตที่ได้วางแผนไว้เท่าที่จะทำได้
วัตถุประสงค์เพื่อสามารถผลิตสินค้าได้ทันเวลาและส่งมอบให้กับลูกค้าได้อย่างครบถ้วน และเพื่อสามารถจัดระเบียบการไหลของงานในระบบผลิต และติดตามการทำงานนั้นว่าเป็นไปตามแผนที่ได้วางไว้หรือไม่ เพื่อที่จะได้สามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้ทันเวลา หรือเป็นการเตรียมและจัดการทรัพยากรและความต้องการ ตลอดจนทางเลือกต่าง ๆให้เกิดความพร้อมสำหรับการผลิต เพื่อให้บรรลุตามแผนการที่ได้กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด และมีความสามารถในการปฏิบัติการผลิตได้ตามแผนงานที่กำหนดไว้ในทุกขั้นตอนรายละเอียดอย่างครบถ้วน เพื่อสามารถผลิตสินค้าได้ตามแผนที่ต้องการด้วยต้นทุนที่ต่ำอย่างเหมาะสม รวมถึงรู้จักใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการกำลังการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
เนื้อหาของหลักสูตร1. การวางแผนกำลังการผลิต (capacity planning) 1.1 ความหมายของกำลังการผลิต (Capacity) 1.2 การบริหารกำลังการผลิต (Capacity Management) 1.3 การวางแผนกำลังการผลิต (
Capacity Planning) 1.4 การควบคุมกำลังการผลิต (Capacity Control) 1.5 กำลังการผลิตที่นำไปใช้ได้ (Capacity Available) 1.6 ความต้องการกำลังการผลิตหรือภาระงาน (Capacity Required or Load) 1.7 เวลาที่ใช้ทำงาน (Available Time) 1.8 การวัดกำลังการผลิต (Measuring Capacity) 1.9 กระบวนการในการวางแผนกำลังการผลิต (The Process of Capacity Planning) 1.10 ประสิทธิภาพของการวางแผนกำลังการผลิต2. Material Requirement Planning (MRP) 2.1 การจัดทำตารางและแผนการผลิตหลัก (Master Planning Schedule: MPS) 2.2 สูตรการผลิต (Bill of Material: BOM) และ MRP (Material Requirement Planning) 2.3 การคำนวณแผนความต้องการวัตถุดิบ MRP (Material Requirement Planning)3. Machine requirement planning 3.1 การคำนวณกำลังการผลิตของเครื่องจักรที่เหมาะสม4. Manpower planning 4.1 การคำนวณปริมาณของพนักงานผลิตที่เหมาะสม
ระยะเวลาอบรม : 1 วัน วันละจำนวน 6 ชั่วโมง ตั้งแต่เวลา 09.00-16.00 น. พักเที่ยง 1 ชม.
รูปแบบการฝึกอบรม : การบรรยาย ให้คำปรึกษา ตอบคำถาม
กลุ่มเป้าหมาย : กลุ่มหลัก ผู้จัดการโรงงาน/ ผู้บริหารระดับสูง-กลาง หรือเจ้าหน้าที่ระดับบริหาร ฝายวางแผนการผลิต ฝ่ายผลิต ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายคลังสินค้า วิศวกรอาวุโส
ประกาศนียบัตร: บริษัท ไฮโพ เทรนนิ่ง แอนด์ คอนเซ้าท์แทนซี่ จำกัด
รายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ